ประโยชน์กับชุมชน-สังคม-ประเด็นร้อน
** นวัตกรรมจากธรรมธาติ GreenCidin น้ำยาทำความสะอาดยับยั้งเชื้อโรค ไร้แอลกอฮอล์ **
ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนล้วนเลี่ยงที่จะสัมผัสกับเชื้อโรคไม่ได้ เชื้อโรคก็คือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย และ รา และสิ่งไม่มีชีวิตที่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อเพิ่มจำนวน เช่น ไวรัส เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ บางครั้งอาจทำให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ดังเช่นการระบาดของไวรัสซาร์ส-โควี-2 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2) ที่ทำให้เกิดโรค โควิด-19 (COVID-19) การฆ่าเชื้อโดยใช้ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น เจลและสเปรย์ล้างมือ หรือนำมาฆ่าเชื้อโดยตรง แต่เนื่องจากเอทิลแอลกอฮอล์มีสมบัติเป็นสารที่ทำให้เกิดการคายน้ำ จึงดึงน้ำออกจากผิวหนังทำให้ผิวหนังแห้ง แตก และทำให้เกิดการระคายเคือง นอกจากนี้เอทิลแอลกอฮอล์ติดไฟได้ง่ายจึงต้องเก็บอย่างระมัดระวัง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการใช้สารฆ่าเชื้อโรคที่ปราศจากแอลกอฮอล์เพื่อนำมาใช้แทนที่แอลกอฮอล์ที่มีข้อเสียดังที่ได้กล่าวมา

ภาพที่ 1 แสดงการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens ที่เคลือบบนพื้นผิว และฉีดพ่นด้วยสารประกอบ 1) ไธมอลเพียงอย่างเดียว, 2) ไธมอลและไอออนของซิงค์ที่ไม่ตกตะกอน และ 3) ไธมอลและไอออนของซิงค์ที่ตกตะกอน ตามลำดับ จากนั้นพื้นผิวดังกล่าวถูกใส่ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ถูกยับยังโดยสารประกอบจะทำให้อาหารเลี้ยงเชื้อขุ่น และเชื้อแบคทีเรียที่ถูกยับยั้งโดยสารประกอบอาหารเลี้ยงเชื้อจะใส
GreenCidin® ใช้การทำงานร่วมกันระหว่าง 1) สารในกลุ่มโมโนเทอร์พีน (monoterpene) ที่มีวงฟีนอลอยู่ในโมเลกุล สารใน2) กลุ่มสารประกอบแอมโมเนียมแบบจตุรภูมิ และ 3) สารในกลุ่มไอออนของซิงค์ (Zn2+) จะทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อโรคทั้งในกลุ่มรา แบคทีเรีย และไวรัส แต่เมื่อมีการนำสารทั้งสามมาผสมกันจะทำให้ไอออนของซิงค์นั้นตกตะกอนทันที และสูญเสียสมบัติการยับยั้งเชื้อโรค (ภาพที่ 1) ดังนั้นการละลายของไอออนของซิงค์จึงมีความสำคัญมากต่อสมบัติการยับยั้งเชื้อโรคและการนำไปใช้งานต่อไป
GreenCidin® ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีเฉพาะภายใต้สิทธิบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เลขที่คำขอสิทธิบัตร 2401000675) ทำให้ไม่มีการตกตะกอนของไอออนของซิงค์ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Straphylococcus aureus, Escherichia coli, Enterococcus hirae และ Pseudomonas aeruginosa; ตารางที่ 1) รา (Aspergillus niger; ตารางที่ 2) และ ไวรัส (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2; ตารางที่ 3) ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากแอลกอฮอล์ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ (ขึ้นทะเบียนเลขที่จดแจ้งในหมวดเครื่องสำอาง) นอกจากนี้ยังค้างอยู่ที่ผิวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อต่อเนื่องยาวนาน
ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้เป็นนวัตกรรมจากความร่วมมือระหว่าง ทีมวิจัยจาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์ ดร. โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ และวิทวัส แก้วส่องแสง) และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียง กาญจนวตี)
ผู้สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ หรือสนใจขอรับตัวอย่าง สามารถติดต่อได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียง กาญจนวตี อีเมล Krieng.K@chula.ac.th หรือ โทร 02-218-7764
ตารางที่ 1 แสดงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 2 ซ้ำ)
เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบ | ปริมาณแบคทีเรียตั้งต้น (หน่วยนับโคโลนี/มิลลิลิตร, cfu/mL) | ปริมาณแบคทีเรียที่เหลืออยู่ (หน่วยนับโคโลนี/มิลลิลิตร, cfu/mL) | ระยะ เวลาสัมผัสเชื้อ | เปอร์เซ็นต์การลดลงของแบคทีเรีย |
สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Straphylococcus aureus) | 1.4 x 107 | 0 ≤ 1 | 1นาที | ≥99.999 |
เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) | 1.6 x 107 | 0 ≤ 1 | 1นาที | ≥99.999 |
เอ็นเทโรคอคัส ฮิเร (Enterococcus hirae) | 1.6 x 107 | 0 ≤ 1 | 1นาที | ≥99.999 |
ซูโดโมนาส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) | 1.1 x 107 | 0 ≤ 1 | 1นาที | ≥99.999 |
ตารางที่ 2 แสดงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา (ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 3 ซ้ำ)
เชื้อราที่ใช้ทดสอบ | ปริมาณเชื้อราตั้งต้น (หน่วยนับโคโลนี/มิลลิลิตร, cfu/mL) | ปริมาณเชื้อราที่เหลืออยู่ (หน่วยนับโคโลนี/มิลลิลิตร, cfu/mL) | ระยะ เวลาสัมผัสเชื้อ | เปอร์เซ็นต์การลดลงของเชื้อรา |
แอสเพอร์จิลลัส ไนเจอร์ (Aspergillus niger) | 1.11 x 107 ± 1.06 x 105 | 1.12 x 103 ± 2.12 x 101 | 15นาที | 99.90 |
ตารางที่ 3 แสดงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัส (ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 2 ซ้ำ)
เชื้อไวรัสที่ใช้ทดสอบ | ปริมาณเชื้อไวรัสตั้งต้น (ปริมาณไวรัสที่ทำให้เซลเพาะเลี้ยงครึ่งหนึ่งเกิดติดเชื้อ/100 ไมโครลิตร, TCID50/100 µL) | ปริมาณเชื้อไวรัสที่เหลืออยู่ (ปริมาณไวรัสที่ทำให้เซลเพาะเลี้ยงครึ่งหนึ่งเกิดติดเชื้อ/100 ไมโครลิตร, TCID50/100 µL) | ระยะ เวลาสัมผัสเชื้อ | เปอร์เซ็นต์การลดลงของเชื้อไวรัส |
เชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2) | 106.3 | ≤101.5 | 1นาที | ≥99.998 |
คณะผู้ร่วมทำวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



รองศาสตราจารย์ ดร. โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ
ภาควิชาเคมี
โทร 02-2187734
อีเมล rojrit.r@chula.ac.th, rojrit@hotmail.com
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียง กาญจนวตี
ภาควิชาชีววิทยา
โทร 02-218-7764
อีเมล Krieng.K@chula.ac.th, kan.krieng@gmail.com
นายวิทวัส แก้วส่องแสง
ภาควิชาเคมี
โทร 02-2187734
อีเมล wittawat.k17@gmail.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย :
ผศ.ดร.สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ และ น.ส.ธนัฎฐา สุทธิมาศ งานวิจัยและบริการวิชาการ ผู้จัดทำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้จัดทำ
เผยแพร่ : 24 กรกฎาคม 2567

**ประชาสัมพันธ์ บริการใหม่!!! จาก งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่ม KPI ภาควิชา/CE-RU-STAR**
อาจารย์ที่สนใจสามารถนัดสัมภาษณ์เพื่อให้ข้อมูลข่าว หรือ ส่งข่าวสั้นมาได้ที่ลิ้ง https://forms.gle/7rpAGtXRP2QTCAX79 หรือ สแกน QR code ด้านล่างนี้
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ งานวิจัยและบริการวิชาการ คุณธนัฏฐา สุทธิมาศ โทรศัพท์ 02-2185128