งานวิจัยและบริการวิชาการ

งานวิจัยและบริการวิชาการ มุ่งมั่น ดำเนินงาน

สนับสนุน ส่งเสริมให้การสร้างสรรค์งานวิจัย และสร้างเครือข่ายกลุ่มวิจัยทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกเพื่อตอบโจทย์ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังให้บริการข้อมูลและเผยแพร่งานวิจัย และสนับสนุนกิจกรรมของห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต และประชาชนทั่วไป

ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรมภายใน

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับทุนสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยในต่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2568 (IRP-2025)

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับทุนสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยในต่างประเทศ คณะวิทยา

กิจกรรมภายใน

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับทุนส่งเสริมการขอทุนวิจัยต่างประเทศ (Sci-Super Plus) ปีงบประมาณ 2568

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับทุนส่งเสริมการขอทุนวิจัยต่างประเทศ (Sci-Super Plus) ปีงบประม

กิจกรรมภายใน

Update ประชาสัมพันธ์ เอกสารและการรับรองในการสมัครขอรับรางวัลวิจัยแห่งชาติ วช.

Update ประชาสัมพันธ์ เอกสารและการรับรองในการสมัครขอรับรางวัลวิจัยแห่งชาติ วช. . รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ แ

ทางลัดเพื่อเข้าถึง

ข้อมูลและบริการของเรา

ประกาศโครงการแหล่งทุนภายนอก

ค้นหาสถานะโครงการ และประกาศโครงการวิจัยแหล่งทุนภายนอก ผ่านระบบค้นหาข้อมูลโดยพิมพ์ชื่อหัวหน้าโครงการของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิเคราะห์และทดสอบ

ดูเงื่อนไขการให้บริการ/อัตราค่าบริการวิเคราะห์และทดสอบของเรา

ฐานข้อมูลงานวิจัย

สืบค้นข้อมูล โครงการวิจัย ผลงานตีพิมพ์ บุคลากร และรางวัลวิจัย

สัญญา MoU

ศึกษาระเบียบขั้นตอนการทำ MoU กับ หน่วยงานของคณะฯ

เอกสารและคู่มือ

เลือกดูเอกสารคู่มือหรือ แบบฟอร์ม เพื่อดาวน์โหลดไปใช้งาน

กิจกรรมของหน่วยงานฯ

ไม่พลาดทุกการความเคลื่อนไหว

ในช่วงเดือน พฤษภาคมและมิถุนายน ของทุกปี งานวิจัยและบริการจะจัดสัมมนาวิชาการ “Science Forum” เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิต นำเสนอผลงาน เผยแพร่งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชม และประชาชน โครงการ “Science Forum” มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การสัมมนาวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อยกระดับงานวิจัยให้มีความทันสมัยและเป็นสากล

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนิสิตที่ได้รับทุนสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยในต่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2568 (IRP-2025)

คณะวิทยาศาสตร์ ขอแสดงความ

Highlight

Series : หยิบหิ้ง_ลงมาห้าง

Microcap

Fresh Air Poweres by Nature

นวัตกรรมเครื่องเพิ่มอากาศบริสุทธิ์​

โดย ผศ.ดร.พิชญา อินนา ภาควิชาเคมีเทคนิค

Deo Devolatilisation​

สเปรย์กำจัดกลิ่นเอนกประสงค์

โดย รศ.ดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ ภาควิชาเคมี

Khao Lam 921

ข้าวหลามกึ่งสำเร็จรูป 921

โดย รศ.ดร.อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร

Arto Enzyme Technology

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

โดย ศ.ดร.ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ ภาควิชาชีวเคมี

Sci CHULA-Daily Research

มิตรเอิร์ธ (MitrEarth)

แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
โดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์

เผยแพร่-Day 1-1 April 2025

อุปกรณ์การตรวจวัดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบพกพา

โดย ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ดร.วิชชุตา เจษฎาบัณฑิต ดร.ศักดิ์ดา จำปาสา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา เสียงเพราะ

เผยแพร่-Day 29-29 April 2025

อาจารย์จุฬาฯ ค้นพบ…“Tylototriton soimalai” กะท่างน้ำชนิดใหม่ ของโลก จากดอยสอยมาลัย-หลังคาเมืองตาก

"นวัตกรรมจากธรรมธาติ GreenCidin น้ำยาทำความสะอาดยับยั้งเชื้อโรค ไร้แอลกอฮอล์"

      GreenCidin® ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีเฉพาะภายใต้สิทธิบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เลขที่คำขอสิทธิบัตร 2401000675) ทำให้ไม่มีการตกตะกอนของไอออนของซิงค์ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Straphylococcus aureusEscherichia coliEnterococcus hirae และ Pseudomonas aeruginosa; ตารางที่ 1) รา (Aspergillus niger; ตารางที่ 2) และ ไวรัส (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2; ตารางที่ 3) ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากแอลกอฮอล์ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ (ขึ้นทะเบียนเลขที่จดแจ้งในหมวดเครื่องสำอาง) นอกจากนี้ยังค้างอยู่ที่ผิวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อต่อเนื่องยาวนาน

"🎥คลิปวีดีโอสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับรางวัลฯ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปีงบประมาณ 2567"

สรุปผลงานโดดเด่น

ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน

[เที่ยวถ้ำออนไลน์] รู้หรือไม่? ถ้ำคลัง (Klang Cave) จ.กระบี่

"ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปนเปื้อนในทะเล"

         การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลเป็นปัญหาสำคัญทางสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยาและสังคมในวงกว้าง น้ำมันที่รั่วไหลที่ลอยอยู่บนผิวน้ำส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ และหากน้ำมันที่รั่วไหลถูกพัดพาด้วยคลื่นและลมเข้าสู่ชายฝั่ง ย่อมทำให้ทัศนียภาพของชายหาด การท่องเที่ยวและภาคเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และในเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวการเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากท่อขนส่งน้ำมันใต้ทะเล บริเวณทุนผูกเรือน้ำลึก อยู่ห่างจากท่าเรือมาบตาพุดประมาณ 20 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดระยอง 

"สารกระจายคราบน้ำมันจากสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ"

           การรั่วไหลของน้ำมันดิบเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้น้ำมันนับแสนๆ ลิตร ลอยขึ้นมาบริเวณพื้นผิวน้ำทะเล  ล่าสุดในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 มีเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันดิบบริเวณใต้ชายฝั่ง ที่ท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง ทำให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำมันตามแนวชายหาดและทะเลชายฝั่ง บริเวณหาดแม่รำพึงและเกาะเสม็ด

"หนังสือการเพาะเลี้ยงกบนา"

        หนังสือการเพาะเลี้ยงกบนา (ภาพที่ 1) เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลี้ยงกบนาในประเทศไทย สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกบนา การเลี้ยง การทำบ่อ การให้อาหาร การเกิดโรคและการรักษา การตลาดและเมนูอาหารจากที่ต่าง ๆ และนอกจากนั้นยังได้สอดแทรกประสบการณ์จากผู้เลี้ยงจริงมาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังเลี้ยงหรือผู้เลี้ยงมือใหม่ ภายในหนังสือมีการรวบรวมเอกสาร ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ และข้อมูลจากการศึกษาในภาคสนาม

"การวิเคราะห์เครือข่ายทางชีววิทยา – เพื่อนำไปสู่การค้นหายีนและยาที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรง"

ด่วน ! "ฝีดาษลิง MPOX ปี 2024" ชาวไทยต้องเตรียมรับมืออย่างไร? มา #ไขปริศนา_กับ_Sci_Chula ไปพร้อมกัน

ฝีดาษลิง (MPOX) คืออะไร? มีอาการอย่างไร ?
        Mpox หรือ Monkeypox virus (MPXV) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า "Monkeypox virus" ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) คือ กลุ่ม Orthopoxvirus

"บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล ASEAN Biodiversity Heroes Award ปี 2022 จากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ"

"บทสัมภาษณ์ รางวัลงานวิจัยระดับดี จากสำนักวิจัยแห่งชาติ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ ไตรผล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ"

"Film Protextor: ผลิตภัณฑ์เคลือบผิวแบบลอกออกได้จากยางพารา"

          งานก่อสร้างประกอบด้วยงาน 2 ส่วนใหญ่ คือ งานโครงสร้าง และงานทางสถาปัตยกรรม เมื่อโครงสร้างอาคารแล้วเสร็จไปประมาณ 50% จะเริ่มมีการตกแต่งภายใน เช่น การทาสี การเดินระบบประปา-ไฟฟ้า การติดตั้งกระจกหรือกระเบื้องในห้องต่าง ๆ แต่การทำงานก่อสร้างประกอบด้วยผู้รับเหมาหลายทีม ทำให้วัสดุที่ได้ติดตั้งไปแล้วอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการก่อสร้างจากสี สะเก็ดปูน และสะเก็ดไฟจากการเจียหรือเชื่อมโลหะ

"แบบจำลองหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม"

        ในปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประชากรโลกส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในการอุปโภคบริโภค อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรหลักที่ถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของโลก คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel) ซึ่งเป็นทรัพยากรสิ้นเปลืองที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนพลังงาน การศึกษา วิจัยและพัฒนาเพื่อหาแหล่งพลังงานทดแทน หรือการนำองค์ความรู้ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสูงสุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

“ยาต้านไวรัสโรคไข้เลือดออก จากสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ”

       โรคไข้เลือดออก (dengue fever) เป็นโรคเขตร้อนที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกกว่า 20,000 คนต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสเดงกีที่ใช้รักษาโรคไข้เลือดออกได้โดยตรง และวัคซีนที่ใช้กันอยู่นั้นยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน ดังนั้นการรักษาจึงเป็นไปตามอาการเพื่อประคับประคองเพียงเท่านั้น ในบางกรณี โรคอาจพัฒนาไปเป็นไข้เลือดออกรุนแรงซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการพัฒนายาต้านเชื้อไวรัสเดงกีชนิดใหม่จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

"งานวิจัยพื้นฐานระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ยกระดับการเลี้ยงกุ้งภาคอุตสาหกรรม"

        กุ้งกุลาดำ (Tiger prawn; ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus monodon) และกุ้งขาววานาไม  (Pacific White shrimp; ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei)   เป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้หลักให้แก่เกษตรกรในประเทศไทย เนื่องจากได้รับความนิยมในการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลผลิตกุ้งส่วนใหญ่ที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงทำให้มีการผลิตกุ้งเพียงพอต่อความต้องการบริโภค ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยผลิตกุ้งได้มากถึง 4.3 แสนตัน  โดยเป็นกุ้งที่ได้จากการเพาะเลี้ยง 3.96 แสนตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 92

"ประโยชน์จากผึ้ง สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ"

        ผึ้งมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการผสมเกสรของพืชพันธุ์ต่าง ๆ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจทางการเกษตร ส่วนผลิตภัณฑ์ผึ้งยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ยาและเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะน้ำผึ้ง เกสรผึ้ง พรอพอลิส ไขผึ้ง พิษผึ้งและนมผึ้ง มีบันทึกการใช้ประโยชน์ไว้อย่างยาวนานในอียิปต์ กรีกและจีน ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายให้ใช้เป็นส่วนประกอบในยาพื้นเมืองหรือยาแผนโบราณและถูกนำไปประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์ทางเลือกได้อีกด้วย

"เสาจราจรล้มลุก ผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลค่าสูงจากยางพารา"

ประเทศไทยเป็นหนึ่งสามประเทศหลักในอาเซียน (ร่วมกับอินโดนีเซีย และมาเลเซีย) ที่เป็นแหล่งผลิตน้ำยางธรรมชาติสูงถึงประมาณ 75% ของโลก โดยประเทศไทยเป็นผู้นำที่มีปริมาณการผลิตสูงสุด คิดเป็นปีละ 4.5 ล้านตัน หรือ 37.5% ของโลก ในขณะที่มีการใช้ยางที่ผลิตภายในประเทศประมาณ 0.6 ล้านตัน หรือ 13% ของที่ผลิต ปัจจุบันยางพาราที่ผลิตได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิตยางล้อ ถุงมือยาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ บางกันกระแทก เป็นต้น