เกี่ยวกับเรา
รองคณบดีฝ่ายวิจัย | ดำรงตำแหน่ง |
1. ศ.ศักดา ศิริพันธุ์ | พ.ศ.2522 – 2525 |
2. ศ.ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ | พ.ศ.2526 – 2529 |
3. รศ.ดร.ชัยยุทธ ธัญพิทยากุล | พ.ศ.2530 – 2534 |
4. รศ.ดร.สุเทพ ธนียวัน | พ.ศ.2535 – 2538 |
5. รศ.ดร.ศิริรัตน์ ก๊กผล | ต.ค.2539 – ก.ย.2542 |
6. รศ.ดร.ปรีดา บุญ-หลง | ต.ค.2542 – มี.ค.2544 |
7. รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ | มี.ค.2544 – ก.ย.2546 |
8. ศ.ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ | ต.ค.2546 – ก.ย. 2549 |
9. ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา | ต.ค.2550 – ก.ย. 2558 |
10. ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ | ต.ค.2558 – ปัจจุบัน |
งานบริการวิชาการและวิจัย เดิมคือฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 สมัยศาสตราจารย์ วิชัย หโยดม เป็นคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ศักดา ศิริพันธุ์ เป็นรองคณบดีฝ่ายวิจัย คนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ และมีรองคณบดีฝ่ายวิจัย ดำรงตำแหน่งสืบต่อกันมาดังตารางที่ได้นำเสนอนี้
การดำเนินงานของฝ่ายวิจัยเริ่มจากการทำงานในรูปแบบคณะทำงานด้านการวิจัย และได้พัฒนามาเป็นฝ่ายวิจัย ตามลำดับ ในสมัยเริ่มแรก ช่วงปี พ.ศ. 2524 ได้จัดทำทำเนียบนักวิจัย โดยรองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ. ดร.ศักดา ศิริพันธุ์ และทำเนียบนักวิจัยปี 2529 โดยรองคณบดีฝ่ายวิจัย ศ.ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ และเริ่มจัดทำ Home page ประวัติและผลงานของอาจารย์ในคณะ ฯ http://www.sc.chula.ac.th/ ปี พ.ศ. 2539 โดยรองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ.ดร.ศิริรัตน์ ก๊กผล และจดหมายข่าววิจัย เริ่มจัดทำเป็นครั้งแรก (ฉบับปฐมฤกษ์) เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยรองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ.ดร.ปรีดา บุญ-หลง ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนไปรวมกับข่าวคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อการประหยัดงบประมาณ วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ ฉบับภาษาไทย (ฉบับปฐมฤกษ์) ปีที่ 1 ฉบับที่ เมื่อ มกราคม – เมษายน 2545 และ Home Page ของฝ่ายวิจัยครั้งแรกโดย รองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ และการจัดทำ E-journal ฐานข้อมูลงานวิจัยโดยฐานข้อมูล Access โดย ศ.ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ แผนการตั้งหน่วย PCU (Publication Counselling Unit) ให้คำปรึกษาด้านตีพิมพ์บทความในวารสารระดับนานาชาติ โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา
ภายหลังฝ่ายวิจัยได้เป็น “งานบริการวิชาการและวิจัย” ทั้งนี้เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขานุการคณะและสถาบันใหม่ ให้งานบริการวิชาการและวิจัย เป็นงานลำดับที่ 8 ของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นมติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 644 (วันที่ 25 กันยายน 2546) และ ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ” โดยมี ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ เป็นรองคณบดี และมีการสานต่อนโยบายในด้านความร่วมมือกับภาคเอกชน และ การเพิ่มความคล่องตัวให้กับนักวิจัยในด้านการดำเนินโครงการ โดยมีหน่วย Scibest ซึ่งริเริ่มมาในสมัย คณบดี ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว และได้มาปรับปรุงให้มีศักยภาพมากขึ้นในปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาและช่วยการดำเนินการเบิกจ่ายและดูแลงบประมาณให้คณาจารย์มากขึ้น ในปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนทุนวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ให้กับทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ในการทำวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการรวมงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเคมีของห้องปฏิบัติ และ ห้องสมุดมาอยู่ในฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานบริการ ส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยในคณะวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ กอปรด้วย คุณธรรม พร้อมสร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า พร้อมผลงานทางวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการมีคุณภาพที่ดี เป็นความภูมิใจของหน่วยงาน
ประสานงานโครงการวิจัยแบบสหสาขาวิชาและบูรณาการ
ตามความต้องการของ ประเทศและนโยบายวิจัยภาครัฐตามวาระแห่งชาติ แนวทางการวิจัยและเส้นทางการพัฒนาของหน่วยงานของภาครัฐ แหล่งทุนวิจัย และความต้องการของภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อสร้างบัณฑิต โดยจัดการวิจัยแบบกลุ่มสาขาวิชาและพันธมิตรร่วมวิจัย งานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัยและนิสิตในคณะวิทยาศาสตร์
ส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์
ให้มีโอกาสทำงานวิจัยและนำประโยชน์จากผลงานวิจัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านวิชาการซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการประยุกต์ผลงานวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมการวิจัย
ในการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองและการจัดการของเสียอันตรายจากเคมีภัณฑ์ให้อยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างยั่งยืน
จัดสรรหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนการวิจัย
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัยและการดำเนินการต่างๆ ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับทุนวิจัย ให้คณาจารย์มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงานวิจัยให้สูงยิ่งขึ้น
จัดทำฐานข้อมูลของคณาจารย์ด้านการทำวิจัยและผลงานวิจัย
รวบรวมผลงานวิจัยที่ได้ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้แก่อุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป