งานบริการวิชาการและวิจัย

ประโยชน์กับชุมชน-สังคม-ประเด็นร้อน

รางวัล Distinguished research medal จาก International Society of Hymenopterists

ผศ. ดร. สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ – บรรณาธิการ

ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก (Prof. Donald Quicke) นักวิจัยจากหน่วยวิจัย Integrative Ecology ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล Distinguished research medal จาก International Society of Hymenopterists รางวัลนี้มีการ มอบให้ทุก 2 ปีกับนักชีววิทยาที่มีผลงานวิจัยโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในวงการวิจัยในเกี่ยวกับแมลงในอันดับ Hymenoptera (อาทิ ผึ้ง ต่อ แตน)   ผู้ได้รับรางวัลมาจากการเสนอชื่อและสนับสนุนจากสมาชิก Members of Good Standing of the Society อย่างน้อย 2 ท่าน มีการตั้งกรรมการเพื่อสรรหาผู้ที่เหมาะสมที่จะได้รับรางวัลนี้จากสมาคม และผู้ที่ได้รับรางวัลจากถูกประกาศใน annual meeting ของสมาคมและจะได้ เป็นสมาชิกของ International Society of the Hymenopterist ตลอดชีพ รางวัลนี้เริ่มแจกในปี 2008 เป็นต้นมา และสำหรับปี 2020 นี้ ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก เป็นผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากสมาคมนี้

           ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก เป็นนักวิจัยชาวอังกฤษ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา B.A. (Hons) in Zoology, Oxford University และระดับปริญญาเอก สาขา Ph.D. (Zoology) Nottingham University เคยทำงานที่ Sheffield University และ Imperial College, London ในปี ค.ศ. 1993 และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในปี ค.ศ. 2008 ศาสตราจารย์ ควิก มีประสบการณ์ด้านการวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาที่หลายหลาย มีความเชี่ยวชาญแมลงในกลุ่มแตนเบียน (wasp) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงศ์ Braconidae จัดเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทางด้านนี้โดยเฉพาะ มีผลงานวิจัย (research article) มากกว่า 300 เรื่อง และหนังสือที่คุณค่าทางวิชาการด้านกีฎวิทยา เช่น Parasitic Wasp และ Mimicry, Crypsis, Masquerade and other Adaptive Resemblances และหนังสือทางด้านอนุกรมวิธาน เช่น Principle and Techniques of Contemporary Taxonomy และล่าสุด Practical R for Biology: an introduction นอกจากนี้ประการณ์วิจัยทางด้านแมลง ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก มีประสบการณ์วิจัยทางด้านสรีรวิทยาของระบบประสาทของหอยทาก นิเวศวิทยาและพันธุศาสตร์ของดอกไม้ทะเล รวมถึงพิษของแมงมุม อีกด้วย

        ในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก ได้เกษียรณอายุราชการจาก Imperial College แต่ยังคงสนใจที่จะศึกษาและต่อยอดงานวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานของแมลง และได้ร่วมเป็นนักวิจัยในกลุ่มวิจัยหน่วยวิจัย Integrative Ecology ของ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์

        ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 ศาสตราจารย์ ดร. โดนัล ควิก นอกจากจะมีประสบการณที่โดดเด่นทางด้านงานวิจัย ยังได้รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้กับนิสิตปริญญาโทและเอก ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาสัตววิทยา และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา Seminar in Zoology, Biology for Engineer และวิชาอื่นๆ 

        หน่วยวิจัยหน่วยวิจัย Integrative Ecology เป็นให้ผู้สนใจทางด้านแมลง อาทิ แตนเบียน สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท และเอก และมีความร่วมมือกับนักวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและขอข้อมูลการศึกษาต่อและทุนการศึกษาได้จาก   https://www.facebook.com/ielabcu

                              

รายชื่อนิสิตในที่ปรึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.โดนัล ควิก

 1. นายวรพงศ์ อัศวศิระมณี Mr. Worapong Atsawasiramanee นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสัตววิทยา PhD student in Zoology Program หัวข้อวิทยานิพนธ์: สายใยอาหารระดับโมเลกุลของแมลงเบียนและหนอนผีเสื้อให้อาศัยในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประเทศไทย Thesis: Molecular Food Web Of Parasitoid-Host (Lepidopteran Larvae) In Doi Phu Kha National Park, Thailand

2. นายพรเทพ เกื้อกิจ Mr. Pornthap Kerkig นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสัตววิทยา PhD student in Zoology Program หัวข้อวิทยานิพนธ์: การแบ่งชั้นตามแนวตั้งของแตนเบียนอิคนิวโมนอยด์เขตร้อนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ประเทศไทย Thesis: Vertical Stratification Of Tropical Ichneumonoid Parasitic Wasps In Khao Yai National Park, Thailand

3. นายกิตติภูมิ จันทร์ศรี Mr. Kittipum Chansri นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสัตววิทยา PhD student in Zoology Program หัวข้อวิทยานิพนธ์: นิเวศวิทยาโภชนาการและอนุกรมวิธานของแตนเบียนเขตร้อนในป่าดิบแล้ง ประเทศไทย Thesis: Nutritional Ecology And Taxonomy Of Tropical Parasitoid Wasps In Dry Evergreen Forest, Thailand

4.น.ส.มาริสา รวีอร่ามวงศ์ Miss Marisa Raweearamwong นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสัตววิทยา PhD student in Zoology Program หัวข้อวิจัยที่สนใจ: รูปแบบการกระจายพันธุ์ทั่วโลกและพฤติกรรมของแตนเบียน Superfamily Ichneumonoidea ที่มีความสัมพันธ์กับอนุกรมวิธานและชีววิทยา Field Of Interest : Global Dispersion Patterns And Behaviour Of Ichneumonoid Parasitic Wasps In Relation To Taxonomy And Biology

📢📢**ประชาสัมพันธ์ บริการใหม่!!! จาก งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่ม KPI ภาควิชา/CE-RU-STAR** 📢📢
👉อาจารย์ที่สนใจสามารถนัดสัมภาษณ์เพื่อให้ข้อมูลข่าว หรือ ส่งข่าวสั้นมาได้ที่ลิ้ง https://forms.gle/7rpAGtXRP2QTCAX79 หรือ สแกน QR code ด้านล่างนี้
👉สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ งานวิจัยและบริการวิชาการ คุณธนัฏฐา สุทธิมาศ โทรศัพท์ 02-2185128