งานบริการวิชาการและวิจัย

ประโยชน์กับชุมชน-สังคม-ประเด็นร้อน

เยาวชนผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะวิทยาศาสตร์

นางสาวสุขิตา ภูชะธง นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นางสาวสุขิตา ภูชะธง นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพที่ 1) ได้รับรางวัล จำนวน 4 รางวัล ดังนี้


1. รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP Teenergy ปีที่ 7 จากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 7 โครงการนี้ได้รับการชักชวนจากรุ่นพี่ในคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อทำกระถางปลูกต้นโกงกางที่สามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพิ่มอัตราการรอดของต้นโกงกาง  (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP Teenergy ปีที่ 7

2. รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จากโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย โดยอพวช. รางวัลนี้เกิดจากการที่อยากจะพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การพูดของตนเองให้ดีขึ้น เมื่อเห็นการประชาสัมพันธ์โครงการนี้จึงสนใจ และเป็นสิ่งใหม่สำหรับตนเองเลยลองสมัครดู (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมจากโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย

3. รางวัลทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย รางวัลนี้เกิดจากอาจารย์ในภาควิชาวัสดุสาสตร์ มีความกรุณาคัดเลือกและส่งไปเป็นตัวแทนภาควิชาเข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับทุนกับทางมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ภาพที่ 4)

ภาพที่ 4 รางวัลทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022

4. รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โครงการ CSR Tollway contest จากบริษัททางยกระดับดอนเมือง รางวัลนี้เกิดจากการที่เห็นการประชาสัมพันธ์ของโครงการแล้วเกิดความสนใจ เนื่องจากเป็นโครงการที่ทาง Tollway จะคัดเลือกโครงการที่เรานำเสนอไปดำเนินการกับชุมชนจริง ๆ จึงคิดว่าถ้าโครงการที่เราคิดขึ้นมาได้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนจริงๆ แบบเป็นรูปธรรมน่าจะเป็นอะไรที่ดีมาก ๆ จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ (ภาพที่ 5)

ภาพที่ 5 รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โครงการ CSR Tollway contest

– ความรู้สึก

      สุขิตารู้สึกภูมิใจและดีใจมากๆ รู้สึกขอบคุณอาจารย์ทุก ๆท่านที่สนับสนุนและให้คำปรึกษาเสมอ ขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ออกมา ดีใจที่ตัวเองกล้าลองอะไรใหม่ ๆ และไม่กลัวที่จะผิดพลาด

 

-การเอาผลงานวิจัยไปต่อยอด

      ในส่วนของนวัตกรรมกระถางปลูกต้นโกงกาง สุขิตาและทีมได้พัฒนาชิ้นงานต้นแบบออกมา แต่ในการทดสอบเบื้องต้น ทีมงานคิดว่ายังไม่สามารถใช้งานในพื้นที่จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะมีโอกาสได้พัฒนาชิ้นงานนี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอีกผลงานเป็นถุงกระดาษจากเปลือกทุเรียน ได้รับข้อแนะนำจากท่านคณะกรรมการ เพื่อนำวัสดุนี้ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น และหากมีการปรับคุณสมบัติเพิ่มเติมก็อาจนำไปสู่วัสดุที่มีคุณค่า สร้างประโยชน์ จากวัสดุเหลือทิ้งได้

 

– พูดขอบคุณ/พูดถึง หน่วยงานที่ให้รางวัล

      สุดท้ายนี้อยากจะขอขอบคุณทุกๆหน่วยงานที่ได้เล็งเห็นถึงปัญหา หรือแนวทางในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นกิจกรรมดีดีเหล่านี้และได้ให้โอกาสนิสิต นักศึกษาในการนำเสนอผลงานของตนเอง เชื่อว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของเราในอนาคต

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย  : 

นางสาวสุขิตา ภูชะธง นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.นิศานาถ ไตรผล และ น.ส.ธนัฎฐา สุทธิมาศ งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ บรรณาธิการ

เผยแพร่ : 7 กุมภาพันธ์ 2566

📢📢**ประชาสัมพันธ์ บริการใหม่!!! จาก งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่ม KPI ภาควิชา/CE-RU-STAR** 📢📢

👉อาจารย์ที่สนใจสามารถนัดสัมภาษณ์เพื่อให้ข้อมูลข่าว หรือ ส่งข่าวสั้นมาได้ที่ลิ้ง https://forms.gle/7rpAGtXRP2QTCAX79 หรือ สแกน QR code ด้านล่างนี้

👉สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ งานวิจัยและบริการวิชาการ คุณธนัฏฐา สุทธิมาศ โทรศัพท์ 02-2185128